มจร ห้องเรียนสุราษฎร์ธานี

มจร ห้องเรียนสุราษฎร์ธานี
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้องเรียนสุราษฎร์ธานี สร้างปัญญาให้สังคม สร้างสังคมอุดมธรรม

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

ธรรมชาติกับความแปรเปลี่ยนในคัมภีร์เต๋าเต๋อจิง

         ก่อนกล่าวถึงธรรมชาติและความแปรเปลี่ยนในคัมภีร์เต๋าเต๋อจิง  จะขอแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของจารีตการคิดระหว่างคัมภีร์เต๋าเต๋อจิงกับคัมภีร์อี้จิง  ดังที่คัมภีร์อี้จิงได้สะท้อนให้เห็นแล้วถึงโลกทัศน์ของชาวจีนโบราณที่มนุษย์สามารถเข้าถึงธรรมชาติด้วยการสังเกตแบบแผนการแปรเปลี่ยนในธรรมชาติจนสามารถรวบรวมออกมาเป็นกฎเกณฑ์ต่างๆ คล้ายกับที่ปรัชญาตะวันตกเรียกมโนทัศน์นี้ว่า “Law  of  Nature”  หรือกฎธรรมชาติ  แต่แนวคิดในอภิปรัชญาจีนนั้น  มโนทัศน์ “Lawgiver”  หรือมโนทัศน์เกี่ยวกับผู้สร้างธรรมชาติไม่ได้มีความเป็นบุคคลเหมือน  พระเจ้า (Personalized  God)  เช่น  ในอภิปรัชญาของตะวันตกเลย
           มโนทัศน์ทางอภิปรัชญาของจีนเกี่ยวกับบ่อเกิดแห่งจักรวาล  คือ  มโนทัศน์เกี่ยวกับสิ่งสัมบูรณ์สูงสุดที่ให้กำเนิดสรรพสิ่ง  โดยเริ่มมีการกล่าวถึงว่า  คือ  ไท่ชี่ (the  Great  Vital  Energy)  ในคัมภีร์อี้จิง  เรื่อยมาจนถึงการกล่าวถึง  เต๋า  (the  Way)  ในคัมภีร์เต๋าเต๋อจิง  แม้สิ่งทางอภิปรัชญา (Metaphysical  Entity)  ทั้งสองนี้จะมีนัยความหมายบางอย่างส่อให้เห็นว่าแตกต่าง  เช่น  อาจมองได้ว่า  ไท่ชี่  หมายถึง  พลังชีวิตของจักรวาลที่พอจะมีความเป็นรูปธรรมอยู่บ้าง  ส่วน  เต๋า  เป็นคำแทนสิ่งเร้นลับนามธรรมที่ไม่อาจสื่อถึงได้ด้วยภาษา  มีความหมายในเชิงอธิบายวิถีการดำเนินไปของสรรพสิ่งมากกว่าที่จะระบุถึงสิ่งใดอย่างตายตัว  แต่ยังมีลักษณะบางอย่างที่อาจพิจารณาได้ว่าทั้ง  ไท่ชี่  และ  เต๋า  นี้มีความสำคัญต่อกัน  นั่นคือการมีลักษณะเป็นบ่อเกิดของ

ไม่มีความคิดเห็น: