มจร ห้องเรียนสุราษฎร์ธานี

มจร ห้องเรียนสุราษฎร์ธานี
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้องเรียนสุราษฎร์ธานี สร้างปัญญาให้สังคม สร้างสังคมอุดมธรรม

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

เรื่องความรู้ของเหลาจื้อ

เรื่องความรู้ของเหลาจื้อ[1]

           เหลาจื้อโดยการอ่าน  ศึกษาค้นคว้าและการบันทึก  ดังนั้น  ญาณวิทยาจึงมีส่วนสำคัญยิ่งต่อวิธีการรู้ความดีที่แท้จริง
           เหลาจื้อนั้น  อาศัยความสนใจในการศึกษาในเต๋า  ซึ่งนักปราชญ์หรือผู้ใฝ่ในเต๋าเท่านั้น  ที่จะรู้และเข้าใจในเต๋าได้ในที่สุด  เหลาจื้อกล่าวถึงผู้มีความรู้ไว้ว่า  นักปราชญ์จะไม่เอาแต่ใจตัว  เขาจะคำนึงถึงใจผู้อื่นเป็นสำคัญ  คนที่ดีต่อเขา  เขาก็ดีต่อคนอื่น  แต่ถ้าใครไม่ดีต่อเขา  เขาก็ยังดีต่อคนอื่นด้วย  หมายถึง เป็นผู้ที่ฝึกตนเองให้เข้าถึงเต๋าแล้วย่อมมีจิตใจที่มั่นคง  มีคุณธรรมที่หนักแน่นต่อความเป็นจริง  จึงจะได้ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์  ดังที่เหลาจื้อกล่าวไว้ต่อมาอีกว่า  นักปราชญ์มีใจหนักแน่นและแผ่เมตตาต่อทุกคน  แล้วประชาชนจะจ้องมองมาที่เขา  และคอยฟังเขา  นักปราชญ์จะเอ็นดูประชาชนดุจบุตรหลานของตน  แสดงให้เห็นถึงผู้มีความรู้อย่างแท้จริงนั้น  ไม่มีความหวั่นไหวเพราะเหตุแห่งรู้จริงเสียแล้ว  ไม่มีการโอ้อวดเพื่อทำลายคนอื่น  เพราะเขามีสติอยู่  พิจารณาอยู่ที่จะใช้ความรู้เป็นคุณธรรม  ที่จะนำประโยชน์สุขให้มากดังความที่ว่า  ผู้มีความรู้ดีย่อมพร้อมที่จะทำความดี  ตามความสามารถดีของเขานั่นเอง


[1]เปรียบเทียบจริยศาสตร์(ทฤษฎีว่าด้วยความดี),หน้า 149.

ไม่มีความคิดเห็น: