อุดมการณ์ หมายถึง จิตนาการที่ถือว่าเป็นมาตรฐานหรือเป้าหมายอันสูงส่งและสูงสุดแห่งชีวิตในทางที่ดีงาม
เหลาจื้อ เห็นว่า ถ้ามนุษย์หันกลับไปหาธรรมชาติที่แท้จริงครั้งแรก และมุ่งต่อเมตตาธรรม ปัญญาระเบียบแบบแผน เจตคติยุติธรรมแล้วเขาอาจมีความสงบสุขสบายได้ นักปราชญ์หรือนักปราชญ์ในอุดมคติของเหลาจื้อนั้น คือ ผู้ที่เลือกสถานที่อันควร(ปฏิรูปเทศ) ในดวงใจท่านถือความสงบสงัด ในความเป็นมิตรท่านถือคุณความดี ในวาจาท่านถือความจริงใจ ในการปกครองท่านถือความสงบเรียบร้อย ในกิจการท่าถือความสามารถ ในการกระทำท่านเลือกเวลาที่เหมาะสม เหตุว่าท่านมิได้แก่งแย่งชิงดีกับผู้ใด คำติเตียนว่าร้ายจึงมิได้แผ้วพานท่าน
ความเหมือนในความแตกต่างอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน คือ การที่นักปราชญ์ทุกท่านจะได้รับการยอมรับนั้น ต้องเป็นผู้ยอมรับคุณธรรมของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติด้วยคุณธรรมความรู้ที่แท้จริงเสียก่อน ซึ่งจะเหมือนกันคือปรัชญาจีนนั้น ขงจื้อยอมรับในคุณธรรม ภูมิธรรม จริยธรรมอันสูงส่งของเหลาจื้อก่อนหน้าว่าเป็นผู้ที่มีภูมิธรรมที่สูงส่ง เหลาจื้อปฏิบัติเป็นแบบอย่างมาเป็นเวลาอันนาน ผู้ที่รองรับในคุณธรรมของเขา คือ ขงจื้อและขงจื้อก็ได้ศึกษาปฏิบัติ สั่งสอนคุณธรรมจนเป็นที่ยอมรับในคุณธรรมว่า เป็นผู้วางรากฐานการดำเนินชีวิตให้กับชาวจีน ซึ่งเป็นการสนับสนุนกับหลักคุณธรรมที่เหลาจื้อปฏิบัติเป็นแบบอย่างแล้วนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น